ตัดสินใจรับขายฝากบ้าน ไถ่ถอนทรัพย์คืนได้ ได้เงินมากกว่าจำนอง

ตัดสินใจรับขายฝากบ้าน ไถ่ถอนทรัพย์คืนได้ ได้เงินมากกว่าจำนอง

การขายฝากบ้านจะมีความแตกต่างจากการฝากขาย เพราะการฝากขายจะเป็นการขายขาดที่เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ไปให้ผู้อื่น แต่การขายฝากก็ยังคงเป็นการซื้อขายในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของผู้ซื้อฝากในทันที แต่จะมีข้อตกลงกันว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์คืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และทรัพย์สินทุกชนิดจะสามารถขายฝากได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น รับขายฝากบ้าน ที่ดิน รถยนต์ หรือสิ่งของอื่น ๆ ที่มีมูลค่าสูง ทั้งนี้การขายฝากทรัพย์สินบางประเภทจะต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดเอาไว้นั่นเอง 

การไถ่ถอนทรัพย์สินคืนจากการรับขายฝากบ้าน ทำอย่างไร 

สำหรับใครที่มีการขายฝากบ้านกับบริษัทรับขายฝากบ้าน หรือนายหน้าต่าง ๆ และต้องการไถ่ถอนทรัพย์สินคืน ซึ่งในส่วนของการไถ่ถอนทรัพย์สิน จะเรียกว่า “สินไถ่” นั่นเอง ซึ่งจะเป็นจำนวนเงินที่ผู้ขายฝากจะต้องนำมาชำระให้แก่ผู้รับซื้อฝาก เพื่อขอไถ่ทรัพย์คืน และในส่วนนี้จะต้องตกลงเอาไว้ในสัญญาของการขายฝาก  

ทั้งนี้ในส่วนของระยะเวลาการไถ่ถอนคืนทรัพย์สินนั้น โดยปกติแล้วหากเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ จะต้องกำหนดไถ่ถอนทรัพย์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี แต่สำหรับการขายฝากสังหาริมทรัพย์ จะมีกำหนดไถ่ถอนกันภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีด้วยกัน 

การไถ่ถอนทรัพย์สินคืน จะมีข้อพิจารณาอย่างไรบ้าง 

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า การไถ่ถอนทรัพย์สินจะต้องเป็นไปในสัญญาที่กำหนดเอาไว้ จะไม่สามารถไถ่ถอนเกินกำหนดของสัญญาได้ และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากอย่างเด็ดขาดในทันที ผู้ขายฝากจะหมดสิทธิในการไถ่ถอนคืน ทั้งนี้สำหรับใครที่ยังไม่มีสินไถ่จะสามารถขอขยายระยะเวลาในการไถ่ถอนทรัพย์สินได้เช่นกัน แต่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือสัญญา ลงลายมือชื่อผู้รับไถ่นั่นเอง 

สัญญาของการขายฝาก ที่ทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ 

หากเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ไม่ได้ อย่างเช่น รับขายฝากบ้าน หรือที่ดิน ขายฝากเรือกำปั่น หรือเรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือแพที่คนอยู่อาศัย สัตว์พาหนะ เป็นต้น แต่หากเป็นการขายฝากสังหาริมทรัพย์ที่มีราคา 500 บาทขึ้นไป การขายฝากจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือให้ผู้ขายฝากและซื้อฝาก เพื่อให้ตกลงรับรู้สัญญาร่วมกันนั่นเอง 

มาถึงตรงนี้เชื่อว่าทุกคนจะต้องรู้จักกับการรับขายฝากบ้าน และการไถ่ถอนทรัพย์สินคืนอย่างแน่นอน เพราะการขายฝากจะเป็นนิติกรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการจำนองนั่นเอง เพียงแต่จะมีโอกาสได้รับเงินมากกว่า แถมยังสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ ดังนั้นจะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรีบใช้เงิน และไม่ต้องการขายทรัพย์สินนั่นเอง

Business